แบบไหนถึงจะเรียกว่ามีบุตรยาก? มาลองดูเกณฑ์วินิจฉัยภาวะมีบุตรยากกัน
อยู่ด้วยกันมาก็นาน แต่ยังไม่ตั้งครรภ์เสียที แบบนี้เรียกมีบุตรยากหรือยัง วันนีทางดับเบิ้ลยูไลฟ์คลีนิกมีข้อมูลมาฝากกัน ในคู่ที่มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เมื่อติดตามไป อัตราการตั้งครรภ์จะอยู่ที่
- 80% ในครึ่งปี
- 90% ใน 1 ปี
- 92% ใน 1 ปีครึ่ง
- 95% ใน 2 ปี
จะเห็นว่าหลัง 1 ปี อัตราการตั้งครรภ์แทบไม่เพิ่มแล้ว ปัจจุบันเราจึงใช้เกณฑ์วินิจฉัยภาวะมีบุตรยากว่า “ไม่ตั้งครรภ์หลังมีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอโดยไม่คุมกำเนิดเป็นเวลา 1 ปี” แต่หากว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภาวะผิดปกติอยู่เดิม สามารถมาพบแพทย์เพื่อประเมินตรวจความพร้อมในการมีบุตร และแก้ไขปัญหาได้ โดยมีหัวข้อการประเมินตัวเองง่าย ๆ ดังนี้
การประเมินความพร้อมในการมีบุตรฝ่ายหญิง
- อายุมากกว่า 35 ปี
- ประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ รอบห่างเกิน 35 วัน
- ประจำเดือนมามากหรือนานเกิน 8 วัน
- ปวดท้องประจำเดือนมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน
- มีโรคประจำตัวที่ต้องใช้ยาประจำ
- เคยผ่าตัดในช่องท้อง หรือในสมอง
- เคยเป็นอุ้งเชิงกรานอักเสบ/ตกขาวเรื้อรังไม่หาย
การประเมินความพร้อมในการมีบุตรฝ่ายชาย
- มีปัญหาการหลั่งอสุจิ/การแข็งตัวของอวัยวะเพศ
- ดื่มเหล้า/สูบบุหรี่เรื้อรัง
- เคยติดเชื้อคางทูมตอนเด็ก
- เคยติดเชื้อท่อปัสสาวะอักเสบ
- เคยผ่าตัดบริเวณถุงอัณฑะ
หากว่ามีปัญหาดังกล่าว สามารถพบแพทย์เพื่อประเมินเบื้องต้น ไม่ต้องรอจนครบปีก็ได้ โดยนอกจากจะช่วยแก้ปัญหาแล้ว แพทย์อาจแนะนำการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ เช่น การทำ IUI
แม้ว่าภาวะมีบุตรยากจากฝ่ายชายจะพบได้ 20–30% แต่มักมีผลต่อทางเลือกการรักษามาก เนื่องจากหากมีตัวอสุจิน้อย หรือเคลื่อนไหวได้ไม่ดี อัตราการตั้งครรภ์ตามรอบธรรมชาติจะลดลงมาก ไหนๆจะมาตรวจแล้ว ทางดับเบิ้ลยูไลฟ์คลีนิกมีแพคเกจตรวจประเมินมีบุตรยาก ซึ่งจะขอแนะนำให้จูงมือมาเป็นคู่ จะได้ข้อมูลที่ครบถ้วนกว่า สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางไลน์ @wlife1