รายการวัคซีนสำหรับหญิงตั้งครรภ์
ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างการตั้งครรภ์เช่นกัน การติดเชื้อบางชนิดอาจส่งผลต่อเด็ก หรือการติดเชื้อในหญิงตั้งครรภ์บางชนิดอาจมีอาการรุนแรง จึงจำเป็นต้องวางแผนการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกัน โดยเฉพาะโรคที่พบบ่อย หรือติดต่อกันได้ง่าย
(9.00 – 21.00 น.)
(10.00 – 20.00 น.)
วัคซีนสำหรับหญิงตั้งครรภ์
- โรคบาดทะยัก เชื้อบาดทะยักปนเปื้อนอยู่ในดิน รวมถึงอุปกรณ์การคลอดที่ไม่สะอาด หากเกิดการติดเชื้อจะทำให้หญิงตั้งครรภ์มีอาการทางระบบประสาท กล้ามเนื้อเกร็ง หากรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนบาดทะยักในหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนกระตุ้นภายในระยะเวลา 10 ปีก่อนการตั้งครรภ์
- โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อย ติดต่อได้ง่าย หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นไข้หวัดใหญ่มีความเสี่ยงที่เชื้อจะลงปอดสูงกว่าคนทั่วไป จึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ระหว่างตั้งครรภ์ทุกราย โดยหากฉีดหลังอายุครรภ์ 16 สัปดาห์ขึ้นไป พบว่าจะสามารถส่งต่อภูมิคุ้มกันไปยังทารกได้ด้วย
- โรคคอตีบ ไอกรน เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่พบน้อยลงมากในปัจจุบัน แต่อาการมักรุนแรงในเด็กแรกเกิดที่อายุน้อยกว่า 1 ปี ในอดีตเราฉีดวัคซีนป้องกันคอตีบ ไอกรนกับเด็กที่อายุ 2 เดือนขึ้นไป ดังนั้นหากติดเชื้อในช่วง 2 เดือนแรกเด็กอาจมีอาการรุนแรงได้ จึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน ในหญิงตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสที่ 3 เพื่อให้ภูมิคุ้มกันส่งต่อไปยังลูกได้
- โรคโควิด-19 เป็นการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ แต่ติดต่อได้ง่ายกว่ามาก นอกจากนี้ยังพบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อมีความเสี่ยงที่เชื้อจะลงปอดสูงกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะในรายที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันมาก่อน จึงแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ที่เคยฉีดวัคซีนเข็มสุดท้ายนานเกิน 6 เดือน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดยแนะนำให้ใช้วัคซีนชนิด mRNA เนื่องจากมีข้อมูลความปลอดภัยในหญิงตั้งครรภ์มากที่สุด
วัคซีน | ข้อบ่งชี้ | อายุครรภ์ที่แนะนำ | ราคา |
บาดทะยัก | เคยฉีดวัคซีนเข็มสุดท้ายเกิน 10 ปี | ทุกอายุครรภ์ | 350 บาท |
ไข้หวัดใหญ่ | เคยฉีดวัคซีนเข็มสุดท้ายเกิน 1 ปี | 16 สัปดาห์ขึ้นไป | 750 บาท |
คอตีบ ไอกรน | แนะนำให้ฉีดทุกการตั้งครรภ์ | 27 – 36 สัปดาห์ | 850 บาท |
โควิด-19 | เคยฉีดวัคซีนเข็มสุดท้ายเกิน 6 เดือน | 12 สัปดาห์ขึ้นไป | ไม่มีบริการ |
รายละเอียด และคำแนะนำก่อนมาฉีดวัคซีน
- สวมเสื้อผ้าที่เปิดแขนเสื้อขึ้นได้ง่าย (วัคซีนจะฉีดเข้ากล้าม บริเวณหัวไหล่)
- ทานยาแก้ปวด Paracetamol ก่อนมาฉีดวัคซีน 30 – 60 นาทีช่วยลดอาการปวดได้
- หลังฉีดวัคซีนคลินิกจะมียา Paracetamol ให้กลับไปทานที่บ้านอีก 2 มื้อ
- หลีกเลี่ยงการนวด คลึง ประคบบริเวณที่ฉีดวัคซีน
- วัคซีนเกือบทุกตัวอาจทำให้มีอาการไข้ต่ำ ๆ ได้ สามารถทานยา Paracetamol แล้วสังเกตอาการได้ แต่หากไม่ดีขึ้น หนาวสั่นมาก แนะนำให้มาพบแพทย์
- ค่าบริการสามารถจ่ายเป็นเงินสด สแกนจ่าย หรือชำระผ่านบัตรเครดิต (เสียค่าธรรมเนียมเพิ่ม 3%)